top of page
รูปภาพนักเขียนMamieaw Patsaporn

ระบบสัทอักษรจีน 拼音

อัปเดตเมื่อ 19 ต.ค. 2562


ฮั่นยฺหวี่พินอิน: 汉语拼音 Hànyǔ pīnyīn แปลว่า การถอดเสียงภาษาจีน คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" ( การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

拼音(pinyin) หมายถึง ตัวอักษรโรมันที่ใช้ในการกำกับการออกเสียงของภาษาจีน คนไทยที่เรียนภาษาจีนนิยมพูดเป็นคำทับศัพท์คือ พินอิน (pinyin) หรือไม่ก็แปลเป็นสัทอักษร

สาเหตุที่การเรียนการสอนภาษาจีนต้องอาศัย 拼音(pinyin) ก็เนื่องจากระบบการเขียนภาษาจีนไม่ได้แสดงการออกเสียง การเรียนรู้การออกเสียงในภาษาจีนจึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องหมายกำกับการออกเสียงเข้ามาช่วย

องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน

1. พยางค์ 声母 shēngmǔ

2. พยัญชนะ 韵母 yùnmǔ

3. สระ 声调 shēngdiào

声母 shēngmŭ พยัญชนะ

        1. พยัญชนะต้นของภาษาจีนมี 21 เสียง

  b (ปัว / ปอ)        p (พัว / พอ)            m (มัว / มอ)            f (ฟัว / ฟอ)

           d (เตอ)               t (เธอ)                     n (เนอ)                   l (เลอ)     

           g (เกอ)               k (เคอ)                    h (เฮอ)                   j (จี)      

           q (ชี)                  x (ซี)                       z (จือ)                    c (ชือ)

           s (ซือ)               zh (จรือ)                   ch (ชรือ)                 sh (ซรือ)        r (ยรือ)

 หมายเหตุ     zh    ch    sh    r ให้ออกเสียงโดยยกปลายลิ้นขึ้นแตะบริเวณเพดานปาก ในการสะกดเสียงอ่านแบบไทยนั้น ผู้เขียนได้เลือกอักษร “ ร ” เป็นตัวแทนการออกเสียงยกลิ้นขึ้น มิได้หมายถึงให้สะกดเป็น จะ-รือ   ชะ-รือ   ซะ – รือ   ยะ-รือ แต่ให้ออกเสียงควบกัน

2. พยัญชนะต้นกึ่งสระมี 2 เสียง คือ

        y (i อี)   และ   w (u อู)

韵母 yùnmǔ สระ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยว และสระผสม ดังนี้

1. 单韵母  สระเดี่ยว มี 6 เสียง ดังนี้

        a (อา)      o (โอ)       e (เออ)        i (อี)         u (อู)       ü ( อวี)

** สระ ü จะออกเสียงสระ u (อู) ควบกับ สระ i (อี) ( u + i ) โดยจุดสองจุดที่อยู่ด้านบน u เท่ากับสระ i นั่นเอง

2. 双韵母  สระผสม สังเกตได้ว่าการออกเสียงสระผสม จะเกิดจากเทคนิคการลากเสียงของสระแต่ละเสียงมาชนกัน

声调 shēngdiào วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ของจีนมีทั้งสิ้น 4 เสียงโดยแต่ละเสียงจะใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์และมีชื่อเรียกเฉพาะแต่มูมู่จะขอเรียกว่า เสียงที่ 1  เสียงที่ 2  เสียงที่ 3 และ เสียงที่ 4 พร้อมทั้งอธิบายเปรียบเทียบกับเสียงวรรณยุกต์ไทย เพื่อสะดวกต่อการเรียนรู้ที่เข้ใจง่ายๆ

เสียงที่ 1           เสียงที่ 2            เสียงที่ 3              เสียงที่ 4

ā á ǎ à

สามัญ                    ๋                         ่                            ้

อา                     อ๋า                     อ่า                        อ้า

กฎของการเติมวรรณยุกต์

1. เครื่องหมายวรรณยุกต์จะใส่ไว้ตรงสระเท่านั้น ห้ามใส่ไว้บนพยัญชนะ

2. ห้ามใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้บน –n  –ng

3. ตำแหน่งการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ จะใส่ไว้ตามลำดับ

a o e i u ü

อา โอ เออ อี อู อวี

EX:       bāo        gěi         liè        nüē        tū

เปา        เก่ย        เลี่ย       เนวีย       ทู

5. กรณีที่เป็นสระ ü (อวี) ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้ข้างบนจุดจุด  เช่น nǚ (หนวี่)

4. กรณีที่เป็นสระ i (อี)ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ทับจุด  เช่น  lī (ลี)

6. กรณีที่เป็นสระฝาแฝด ( i อี  u อู) ให้วางวรรณยุกต์ไว้ที่สระด้านหลังเสมอ เช่น duī (ตุย)  diū (ติว)

7.   กรณีที่เสียงวรรรยุกต์เสียงที่ 3 เจอเสียงวรรณยุกต์เสียง    ที่ 3 ด้วยกัน เสียงข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นเสียงที่ 2  เช่น

ˇ ˇ = ´ ˇ nǐhǎo ออกเสียงเป็น níhǎo (สวัสดี)

                                    หนี่ห่าว                  หนี ห่าว

ดู 31,407 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page